กรณีศึกษา นิมิตร ทักโลวา : การบริหารจัดการที่ดี ปลูกข้าวโพด 4 ไร่ ล้างหนี้เกือบ 2 แสนได้ภายในครึ่งปี
ปัญหาที่อยู่คู่กับเกษตรกรไทยนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันคือ หนี้สินนั่นเอง ด้วยต้นทุนการผลิตที่สูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี อีกทั้งเกษตรกรส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถต่อรองราคาจำหน่ายกับพ่อค้าคนกลางได้ นั่นจึงทำให้เกษตรกรประสบภาวะขาดทุน ซึ่งอาจกลายเป็นหนี้เสียในที่สุด
ที่ตำบลงางัว อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ได้มีราชญ์ผู้หนึ่ง ผู้ซึ่งปลดหนี้ 2 แสนบาทได้ภายในระยะเวลาไม่ถึงครึ่งปี
นายบำรุง เพิ่มชีวา หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ ได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยืยนศุนย์เรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ ณ แปลงเกษตรของนายนิมิตร ทักโลวา เกษตรกร ชาวอำเภอน้ำโสม โดยมีนายธวัช เพ็ชรไพโรจน์ เกษตรอำเภอน้ำโสมร่วมให้การต้อนรับ
แปลงนองนายนิมิตร เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และการอนุรักษ์ดินและน้ำ ที่มีผูสนใจมาศึกษาดูงานอยู่ไม่ขาดสาย อันเป็นผลมาจากการได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประจำปี พ.ศ. 2556 รางวัลอันเป็นความภาคภูมใจของนายนิมิต และนอกจากนี้ยังมีรางวัลอื่นดา้นการเกษตร ๆ อีกหลายรางวัล
เริ่มแรกนั้นต้องย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2548 นายนิมิตร นั้นมีที่ดินอยู่ 4 ไร่ กับหนี้สินจำนวน 190,000 บาท นายนิมิตรต้องการปลดหนี้ให้ได้โดยเร็ว จึงมีแนวความคิดว่าหากปลูกพืชอายุสั้น ได้ขายเร็วและสร้างรายรับตลอดรายวันหรือรายสัปดาห์น่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด
นายนิมิตรจึงได้สำรวจในชุมชน (ตลาดภายในอำเภอ) ว่าสินค้าชนิดไหนที่ตลาดต้องการ และยังมีคู่แข่งน้อยอยู่ สุดท้ายจึงได้เลือกข้าวโพดข้าวเหนียว ซึ่งราคาไม่แพงขายง่าย ผู้คนนิยมรับประทาน เมื่อสำรวจต่อไปยังพบอีกว่าในตลาดนั้นจะต้มข้าวโพดมาขายในครั้งเดียวในตอนเช้า พอตกบ่ายข้าวโพดเย็นชืดก็รับประทานไม่อร่อย อีกทั้งถ้าวันไหนอากาศร้อนข้าวโพดก็อาจเสียเร็ว
นายนิมมิตรจึงกลับมาวางแผนผลิตและนำหน่ายเอง เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
1. ที่ดิน 4 ไร่ แบ่งออกเป็น 8 แปลง ๆ ละ ครึ่งไร่ (2 งาน) โดยใน 8 แปลงย่อย แต่ละแปลงจะปลูกข้าวโพดห่างกัน 10 วัน เพื่อแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด
2. ในแต่ละแปลงย่อย (2 งาน) ต้องการข้าวโพด 5000 ต้น จะใช้เมล็ดประมาณ 6500 เมล็ด อีก 1500 เมล็ด จะกลายเป็นอาหารมดและแมลง จะงอกข้าวโพดเกิดประมาณ 5000 ต้น ต้นละ 1 ฝักจะได้ 5000 ฝัก ซึ่งใน 1500 เมล็ดที่เสียไปนายนิมิตรก็ถือว่าแบ่งปันให้เพื่อนร่วมโลก ซึ่งเป็นธรรมชาติของแมลงที่ต้องหาอาหารเป็นธรรมดา (และนายนิมิตก็ไม่ได้ใช้สารเคมีกำจัดแต่อย่างใด)
3.นายนิมิตได้ไปเช่าแผงที่ตลาดของอำเภอ จำหน่ายเองโดยการต้มสด ๆ ทยอยต้มเรื่อย ๆ จนกว่าจะหมด ซึ่งจะแก้ปัญหาข้าวโพดบูดและทำให้รสชาติดีอีกด้วย ซึ่งใน 5000 ฝักจะทยอยขาย 5-6 วันก็หมด อีก 5 วันก็พัก รอเก็บผลผลิตในแปลงต่อไป
นายนิมิตกล่าวว่าใน 8 แปลง ปลูกเพียงรอบเดียวก็มีรายได้ถึง 2 แสนบาท ซึ่งสามารถปลดหนี้ 190,000 ได้ นับแต่นั้นนายนิมิตรก็ปลูกข้าวโพดเรื่อยมา จนปัจจุบันมีที่ดินเพิ่มขึ้นเป็น 30 ไร่ มีบ่อน้ำที่ใช้เลี้ยงปลา 4 บ่อ ฝรั่งกิมจู น้อยหน่า นาข้าว ปลูกปาล์ม ลำใย และเงาะซึ่งให้ผลผลิตแล้ว บางส่วนแบ่งจำหน่าย บางส่วนนำไปแบ่งปันให้คนในชุมชนและบุคลากรทางการแพทย์ และยังปลูกมังคุดและทุเรียน (ยังไม่ให้ผลผลิต) และได้พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อให้ประชาชนที่สนใจได้มาเรียนรู้ทั้งแบบไปกลับและค้างคือนอีกด้วย
ปัจจุบันนายนิมิตมีรายได้หลายแสนบาท/ปี ซึ่งรายได้หลักมีอยู่ 6 ส่วน คือ
1.ปาล์มน้ำมัน (คนงานตัด ส่งขายให้)
2.น้อยหน่า
3.ฝรั่งกิมจู
4.ข้าวโพด
5.ข้าว
6.ต้นพันธุ์ผักหวาน
ผู้ที่สนใจศึกษาดูงานติดต่อได้ที่
นายนิมิตร ทักโลวา โทร 095 170 0023 / 081 576 7077
Line : 0951700023
*ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 โปรดสอบถามเพิ่มเติม
สำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี
ถ่ายภาพ/รายงาน
1,044 total views, 1 views today